แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว

 ...... ท่องเที่ยวเมืองรอง ณ อำเภอพนา จังหวัดอำนาเจริญ 


          อำเภอพนา เดิมมีฐานะเป็น “เมืองพนานิคม” ตั้งขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แล้วก็ถูกลดฐานะลงเป็น อำเภอพนานิคม ขึ้นกับจังหวัดอุบลราชธานี แต่พอถึงปี พ.ศ. 2452 มีการปรับปรุงเปลื่ยนแปลงการปกครอง ภายในจังหวัดอุบลราชธานีอีกครั้งโดยยุบอำเภอตระการพืชผลรวม กับอำเภอพนานิคม 
         จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2494 ทางราชการจึงได้แยกเป็น 5 ตำบล คือ ตำบลพนา ตำบลจานลาน ตำบลไม้กลอน ตำบลลือ และตำบลห้วย ที่เคยเป็นท้องที่อำเภอพนานิคมมาก่อน ตั้งเป็นกิ่งอำเภอพนา ส่วนอำเภอพนานิคมที่บ้านขุหลุ เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอตระการพืชผล ต่อมาวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 ได้รับการยกฐานะจากกิ่งอำเภอพนา ให้เป็นอำเภอพนา ท้ายสุดวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2536 อำเภอพนาจึงมาขึ้นกับจังหวัดอำนาจเจริญ


 
1.วัดพระเหลาเทพนิมิต
 

  "พระเหลาเทพนิมิต” เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับขัดสมาธิราบ มีขนาดหน้าตักกว้าง 2.85 เมตร สูง 2.70 เมตร ถือได้ว่าเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดอำนาจเจริญ ประดิษฐานเป็นพระประธานอยู่ภายในพระอุโบสถ วัดพระเหลาเทพนิมิต ต.พนา อ.พนา จ.อำนาจเจริญ ตามประวัติ บรรพบุรุษผู้สร้างบ้านแปลงเมืองบ้านพนา ได้พากันอพยพมาตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณดงสูง ริมกุดบึงใหญ่ หรือกุดพระเหลาในปัจจุบัน "พระครูธิ” พระที่ชาวบ้านให้การเคารพนับถือ ได้ชักชวนให้ร่วมกันสร้างวัดบริเวณริมกุดบึงใหญ่ และให้ชื่อวัดแห่งนี้ว่า "วัดศรีโพธิชยารามคามวดี” โดยมีพระครูธิ เป็นเจ้าอาวาสองค์แรก หลังสร้างวัดเสร็จในปี พ.ศ.2263 พระครูธิได้นำศิษย์และญาติโยม เริ่มก่อสร้างพระอุโบสถ และศาลาการเปรียญ โดยตัวพระอุโบสถมีขนาดกว้าง 9.80 เมตร ยาว 15.50 เมตร หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ฐานพระอุโบสถและผนังก่อด้วยอิฐ โครงหลังคาเป็นไม้เนื้อแข็งลดหลั่น 2 ชั้น มุงด้วยกระเบื้องไม้ พ.ศ.2515 ได้เปลี่ยนเป็นหลังคากระเบื้อง เพราะของเดิมทรุดโทรมมาก หน้าบันไดด้านตะวันออกทำด้วยไม้สลักลวดลายต่างๆ ห้องกลางมีลายเถาว์ไม้เต็มห้อง ตรงกลางเป็นรูปราหูกลืนจันทร์ ระหว่างเถาว์ไม้ยังมีรูปเทพนม และรูปหนุมานสลับเป็นช่อง ลวดลายทั้งหมดทำด้วยปูนเพชรแกะสลักอย่างประณีต ไม่ได้สลักลงในเนื้อไม้ พร้อมลงรักปิดทองฝังกระจกทั้งหมดภายในตัวพระอุโบสถยังใช้ไม้เนื้อแข็งทรงกลมทำเป็นเสา ขนาดวัดรอบ 76 เซนติเมตร จำนวน 8 ต้น ต่อมาในปี พ.ศ.2464 ได้มีการเปลี่ยนเสาไม้เป็นเสาอิฐถือปูนรูป 4 เหลี่ยม และปี พ.ศ.2471 ท่านพระครูวิโรจน์รัตโนบล (บุดรอด นนฺตโร) เจ้าคณะจังหวัดกิตติมศักดิ์ จังหวัดอุบลราชธานี ได้เขียนลายเถาว์ด้วยสีต่างๆ รอบเสา 4 ต้น ที่อยู่ในห้องพระประธาน ส่วนเพดานติดดาวกระจายปิดทองประดับกระจก 44 ดวง โดยพื้นเพดานเป็นสี แดงดูอร่ามตา ส่วนพื้นอุโบสถทำเป็นกระเบื้องซีเมนต์
   หลังสร้างพระอุโบสถเสร็จ พระครูธิได้นำคณะลูกศิษย์ สร้างองค์พระประธานประจำพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดสูง 2.70 เมตร หน้าตักกว้าง 2.85 เมตร ก่อด้วยอิฐถือปูนลงรักปิดทอง แท่นพระประธานก่อด้วยอิฐถือปูน มีชายผ้านิสีทะนะเหลื่อมพ้นออกมา ตรงกลางผ้ามีรูปพระแม่ธรณีบีบมวยผม โดยท่านพระครูธิเป็นผู้ออกแบบเอง และมอบหมายให้ภิกษุแก้วกับภิกษุอิน ลูกศิษย์เป็นช่างทำการก่อสร้างโดยพระครูธิ อธิบายวิธีทำให้ลูกศิษย์ทำเป็นวันละส่วน วันละตอน หลังลูกศิษย์ทำงานเสร็จก็ให้มารายงานผลการสร้างให้ทราบทุกวัน โดยท่านพระครูธิไม่ได้ลงไปดูแลด้วยตนเอง กระทั่งถึงขั้นตอนขัดเงาลงรักปิดทอง ท่านจึงลงไปดูและถามลูกศิษย์ที่เป็นช่างว่า "ทำงานได้เต็มฝีมือแล้วหรือ” เหล่าช่างก็ตอบว่าได้ทำเต็มฝีมือแล้ว แต่เมื่อพระครูธิ เห็นองค์พระประธานที่เหล่าบรรดาลูกศิษย์พากันทำมา จึงเอ่ยว่าทำงานได้งามอยู่หรอก แต่ต้องให้งามกว่านี้ บรรดาลูกศิษย์ที่เป็นช่างยอมรับว่าหมดฝีมือที่จะทำแล้ว คงไม่สามารถทำให้พระประธานงามได้มากกว่านี้ ขณะเดียวกัน มีพระภิกษุรูปหนึ่งชื่อ "ซาพรหม” ซึ่งอยู่ในทีมช่างที่ก่อสร้างองค์พระ ได้แสดงตนว่า สามารถทำให้องค์พระงามกว่านี้ได้ พระครูธิจึงมอบหมายให้พระซาพรหมเป็นผู้แก้ไข และพระซาพรหมก็ทำองค์พระพุทธรูปได้สวยงามสมคำพูด โดยเฉพาะใบหน้าองค์พระประธานมีลักษณะงดงามสมส่วนทุกประการ กล่าวกันว่า ‘พระเหลาเทพนิมิต’ เป็นพระพุทธรูป ที่มีพระพุทธลักษณะงดงามที่สุดในภาคอีสาน ตามแบบฉบับศิลปะลาว สกุลช่างเวียงจันทน์ ที่ได้รับอิทธิพลศิลปะช่างล้านนาและมีฝีมือช่างท้องถิ่นปรากฏอยู่มาก เช่น เค้าพระพักตร์ เปลวรัศมีที่ยืดสูงขึ้น สัดส่วนของพระเพลาและพระบาท คล้ายคลึงกับองค์พระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในปลายพุทธศตวรรษที่ 23-2
 


******************************************************************************

 
2.วัดดอนขวัญ
 


 
          วัดดอนขวัญ ตั้งอยู่บ้านดอนขวัญ หมู่ที่ 2 ตำบลพนา  อำเภอพนา จังหวัดอำนาจเจริญ มีเนื้อที่ 12 ไร่ 2 งาน โดยการบริจาคของคุณแม่วณีย์ รูปแก้ว พ.ศ. 2505 หลวงปู่พระครูถาวรวนคุณ พาญาติโยมมาตั้งเป็นที่พักสงฆ์ขึ้น ให้ชื่อว่าวัดถาวรวนาราม พศ. 2531 ได้เป็นวัดถูกต้องตามกฎหมายให้ชื่อว่า วัดดอนขวัญ พ.ศ.2537 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาพระประทานในอุโบสถและลานธรรม สมเด็จพระสังฆราชทรงพระราชทานนามให้ 
          สิ่งที่ทำเป็นประจำทุกปีนั่นคือการจัดงานปฏิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติ พระภิกษุ-สามเณร อุบาสกอุบาสิกา ประชาชน เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลพนา อสม. ในเขตตำบลพนา ชุมชนและนักเรียนเข้าร่วมกันต่อเนื่องทุกปี พระครูวรรณคุณาภรณ์ พร้อมด้วยพุทธศาสนิกชน พุทธบริษัททั้งหลายได้จัดสร้างพระพุทธรัตนมหาเจดีย์ศรีอำนาจเจริญ โดยได้อัญเชิญจากพระบรมสารีริกธาตุ จากประเทศศรีลังกา ประเทศพม่า และจากสมเด็จพระญาณสังวร นำมาบรรจุไว้ในพระมหาเจดีย์ เพื่อให้พุทธศาสนิกชน พุทธบริษัททั้งหลาย  ได้กราบสักการบูชา และสร้างมหาบารมี สืบทอดพระศาสนาให้ยั่งยืนถาวรสืบไป

 





**********************************************************************
 
3. วนอุทยานดอนเจ้าปู่
 

          เดิมเป็นป่าดงดิบประกอบด้วยป่าไม้เบญจพันธุ์นานาชนิด เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่านานาพันธุ์ ต่อมาราวปี พ.ศ.2213 พรานที พรานทอง สองพี่น้องพร้อมด้วยสมัครพรรคพวกได้อพยพติดตามท่านพระครูโพนสะเม็กพระครูขี้หอมหนีภัยการเมืองจากนครเวียงจันทน์ลงมาตามแม่น้ำโขง มาขอพึ่งเจ้านครจำปาศักดิ์ และเจ้านครจำปาศักดิ์ให้ตั้งถิ่นฐานที่ภูมะโรง แขวงจำปาศักดิ์ เรียกว่า บ้านมะขามเนิ่ง ซึ่งด้านทิศตะวันตกของดงใหญ่เป็นที่ราบลุ่มเหมาะแก่การทำมาหากิน จึงพาสมัครพรรคพวกตั้งบ้านขึ้นเรียกว่า "บ้านทรายมูล" ซึ่งในปัจจุบันก็คือ "ดอนเจ้าปู่" นั่นเอง ตั้งอยู่ได้ประมาณ 15 ปี ได้เกิดโรคระบาดผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมากชาวบ้านหมดปัญญาที่จะรักษาโรคร้ายให้หายไปจากหมู่บ้านได้ ต่อมาทราบข่าวว่าท่านพระครูธิ บ้านปอพรานขัน เป็นผู้มีเวทย์มนต์คาถาอาคมขลัง สามารถรักษาโรคภัยต่างๆได้ จึงพากันไปอาราธนานิมนต์ท่านมาและท่านพระครูธิพร้อมด้วยสานุศิษย์ได้เดินทางมาถึงจึงได้พิจารณาดูภูมิประเทศโดยรอบของหมู่บ้านทรายมูลแล้วบอกว่าไม่เหมาะถ้าไม่ย้ายบ้านไปอยู่ที่อื่นโรคร้ายจะไม่หาย ท่านพระครูธิจึงได้มาพิจารณาภูมิประเทศทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือซึ่งใกล้กับบึงใหญ่ (กุดพระเหลา) มีความเหมาะสมที่จะตั้งหมู่บ้านได้จึงให้ชาวบ้านทรายมูลอพยพมาตั้งบ้านขึ้น (ซึ่งเป็นหมุ่บ้านพนาในปัจจุบัน) ส่วนบ้านททรายมูลก็เป็นบ้านร้าง ซึ่งชาวบ้านพนาเรียกว่า "โนนบ้านเก่า" และชาวพนาได้สงวนไว้เป็นดอนปู่ตา ซึ่งเป็นมเหศักดิ์หลักเมืองของชาวอิสาน ปัจจุบันวนอุทยานมีสภาพโดยทั่วไปยังคงเป็นป่าดงดิบ ประกอบด้วยไม้เบญจพันธุ์นานาชนิด เป็นที่อยู่อาศัยของลิงซึ่งมีจำนวนมากนับพันตัว ผู้คนที่สัญจรไปมาต่างก็แวะชมและให้อาหารแก่ฝูงลิงเป็นประจำ
          วนอุทยยานดอนเจ้าปู่ อยู่ห่างจากตัวจังหวัดอำนาจเจริญประมาณ 40 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 60 ไร่ เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีลิงเป็นจำนวนมาก เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ มีศาลปู่ตาซึ่งเป็นที่สิงสถิตย์ของเจ้าปู
 



 


****************************************************************************************************
 
4. ศูนย์แพทย์แผนไทยพนา โรงพยาบาลพนา
 
 
          ตั้งอยู่ที่ 225 หมู่ 10 ตำบลพระเหลา อำเภอพนา จังหวัดอำนาจเจริญ เป็นศูนย์แพทย์พื้นบ้านของอำเภอพนา ให้บริการตรวจ วินิจฉัย ตรวจธาตเจ้าเรือน เพื่อปรับสมดุลธาตุ บริการหัตถบำบัด ยาสมุนไพร ยาต้ม บริบาลหลังคลอด และสปาเพื่อสุขภาพ อบสมุนไพรนวดแผนไทยต่าง เช่นนวดเท้า นวดตัว จำหน่ายยาผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรพื้นบ้านต่างๆ เป็นแหล่งวิเคราะห์ ทดลอง ค้นคว้าเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทย ตลอดทั้งส่งเสริมการปลูกสมุนไพรต่างๆในชุมชน 
           ได้รับการตรวจประเมินมาตรฐานเพื่อต่ออายุมาตรฐาน GMPs เเละยกระดับกระบวนการผลิตสมุนไพรให้ได้มาตรฐาน ออกสำรวจพื้นที่เพาะปลูกของเครือข่ายฯเพื่อกระจายโควต้าการเพาะปลูก คัดเลือกวัตถุดิบมาจากชุมชน รวมถึงเปิดให้บริการด้านการตรวจ วินิจฉัย รักษาโรคด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยร่วมด้วย ผลิตภัณฑ์ยอดนิยม ชุดกระเป๋าสมุนไพร “พนาพรรณ” สวยงามจากผ้าจุบครามทอมือ ของกลุ่มแม่บ้าน อำเภอพนา ฝีมือเย็บอันปราณีต ของกลุ่มตัดเย็บอำเภอหัวตะพาน ภายในบรรจุด้วยยาอม ยาดม ยาหม่อง สูตรเฉพาะของศูนย์แพทย์แผนไทยพนาให้ สวยงามพกพาสะดวกเหมาะแก่การนำติดตัวในการเดินทางท่องเที่ยว
 
            ศูนย์แพทย์แผนไทยพนา อำเภอพนา จังหวัดอำนาจเจริญ บริการทุกวัน เวลา 08.00 – 16.00 น.ไม่เว้นวันหยุด ติดต่อสอบถามได้ที่ประชาสัมพันธ์ หรือ พนักงานขาย 045 – 463366, 088 – 378 – 8452  
           เว็บไซต์ :: http://panthaiphana.org/
           Face Book :: https://www.facebook.com/phana.ttm


 
*******************************************************************************************************
 
5.  ผ้ามัดหมี่จุบคราม พนา
 


 
           ผ้ามัดหมี่ “จุบคราม” เป็นภาษาอีสาน แปลว่า จุ่ม ขยำ หรือย้อมคราม ที่ตำบลพนา คนในชุมชนทำผ้ามัดหมี่ จุบคราม กันทุกหมู่บ้าน มีกี่ท่อผ้ากันเกือบทุกหลังคาเรือน เป็นอาชีพเสริมหลังจากการทำไร่ทำนาทำสวน กรรมวิธีการทำต้องเด็ดเอาใบครามสดๆ มาหมักขยำให้ได้น้ำครามก่อน แล้วจึงนำเส้นฝ้ายมาจุบครามหรือย้อมคราม เสร็จแล้วนำไปตากแดดให้แห้งสนิม จากนั้นจึงจะมาท่อผ้าเป็นผลิตภัณฑ์ได้ ผลิตภัณฑ์จุบครามธรรมชาติ ของชุมชนตำบลพนา ทอด้วยมือทุกชิ้น กว่าจะได้ผลิตภัณฑ์แต่ละชิ้นต้องใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการย้อม มีทักษะความพยามอย่างมากในการท่อผ้า กว่าจะได้ผ้ามัดหมี่ย้อมครามสักหนึ่งผืน ส่วนราคานั้นก็ถูกแสนถูกเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์ที่ได้รับ สินค้าก็มีให้เลือกหลากหลาย ผ้าคุมไหล่ ผ้าสิ่น ผ้าผืน
 












 
ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.thewaynews.com/